๑.      การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

๑.๑ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

              ๑.๑.๑  ศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาประกาศใช้

         ๑.๑.๒  กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

         ๑.๑.๓  กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้

            ๑.๑.๔ การประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กลุ่มผู้เกี่ยว ข้องทั้งภายในและภายนอกรับทราบ

         ๑.๒ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

         ๑.๒.๑  ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลตามสภาพจริง  

                ๑.๒.๒ กำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าหมายด้านต่างๆโดยมุ่งเน้นที่คุณภาพผู้เรียนที่สะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

           ๑.๒.๓ กำหนดวิธีการดำเนินงาน กิจกรรมโครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัยหรือข้อมูลที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

          ๑.๒.๔  กำหนดแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ

           ๑.๒.๕  กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนร่วมรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ๑.๒.๖  กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดามารดา ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงาน ชุมชน และท้องถิ่น

          ๑.๒.๗ กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการ

           ๑.๒.๘ เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ

          ๑.๒.๙ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

           ๑.๒.๑๐  กำหนดปฏิทินการนำแผนปฏิบัติการประจำปีสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน

           ๑.๒.๑๑  เสนอแผน ปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ

    ๑.๓  การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ

        ๑.๓.๑ จัดโครงสร้างหรือระบบการบริหารของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

            ๑.๓.๒ กำหนดผู้รับผิดชอบ และจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ครอบคลุมเป็นปัจจุบันสะดวกต่อการเข้าถึงและการให้บริการ หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต้นสังกัด

         ๑.๓.๓ นำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอน

   ๑.๔  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

         ๑.๔.๑ นำแผนปฏิบัติการประจำปีแต่ละปีสู่การปฏิบัติตามกรอบระยะเวลาและกิจกรรม โครงการที่กำหนด

         ๑.๔.๒ ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

   ๑.๕  การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

   ๑.๕.๑ กำหนดผู้รับผิดชอบในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา

            ๑.๕.๒ ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง

         ๑.๕.๓ รายงานและนำผลการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา

         ๑.๕.๔ เตรียมการและให้ความร่วมมือในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด

    ๑.๖  การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

         ๑.๖.๑ ให้มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย ๓  คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่หน่วยงานต้นสังกัดขึ้นทะเบียนไว้อย่างน้อย ๑ คน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

             ๑.๖.๒ ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลาก หลายและเหมาะสม

   ๑.๗  การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

         ๑.๗.๑ สรุปและจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด

         ๑.๗.๒ นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ

         ๑.๗.๓ เผยแพร่รายงานต่อสาธารณชน  หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   ๑.๘  การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

         ๑.๘.๑ ส่งเสริมแนวคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาที่มุ่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรในสถานศึกษาทุกคนและพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จนเป็นวัฒนธรรม ในการทำงานปกติของสถานศึกษา

         ๑.๘.๒ นำผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา จากการประเมินตนเองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์  สังเคราะห์ และเลือกสรร ข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำไป ใช้ประโยชน์ ต่อการพัฒนาการบริหารและการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

         ๑.๘.๓ เผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา

  ๒. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

          ๒.๑ การประเมินคุณภาพภายในมีการประเมิน ติดตามและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน โดยคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อนำผลประเมินไปใช้ในการวางแผนพัฒนากิจกรรม/ โครงการ ตามบริบทของโรงเรียน

         ๒.๒ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ : มีข้อมูลสารสนเทศที่แสดงแนวโน้มผลการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน (รายบุคคลรายห้องเรียน   รายชั้น รายกลุ่มสาระ) และคุณภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษา (โครงการ/ กิจกรรม)  

         ๒.๓ การพัฒนาคุณภาพการศึกษามีการกำหนด มาตรฐาน/ จัดระบบ..โครงสร้าง/ วางแผน / ดำเนินงานตามแผน/ “สร้างจิตสำนึก”         

ให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพเป็น “ความรับผิดชอบ” ของทุกคน